เทคโนโลยีชีวภาพ
เกี่ยวกับโครงการ

รายการวันนี้
เทคโนโลยีชีวภาพ
         ก๊าซชีวภาพ (Biogas)คือ ก๊าซที่เกิดจากการย่อยสลายสารอินทรีย์ โดยกลุ่มจุลินทรีย์ชนิดไม่ใช้ออกซิเจน ในสภาวะไม่ใช้อากาศ ประโยชน์แก๊สชีวิภาพ
แก๊สชีวภาพเป็นพลังงานใกล้ตัวที่ให้ประโยชน์กับเราในหลายๆด้านขึ้นอยู่กับเราที่ต้องการนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ด้านใด โดยแบ่งเป็น 3 ด้านใหญ่ๆดังนี้
                           1.ประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อม การสร้างบ่อแก๊สชีวภาพแท้จริงแล้ว เป็นการสร้างระบบกำจัดของเสียที่เกิดจากการเลี้ยงสัตว์ หรือระบบกำจัดน้ำเสียจากโรงงานบางประเภท เช่นโรงงานทำเส้นก๋วยเตี๋ยวโรงงานทำแป้งมันเป็นต้น โดยสามารถลดกลิ่นเน่าเหม็น ลดแหล่งเพาะเชื้อโรค ทำให้ทัศนียภาพโดยรอบน่ามองและลดปัญหาสังคมที่อาจจะเกิดขึ้นจากการวิวาทกับเพื่อนบ้านอันเนื่องจากกลิ่นเหม็นของมูลสัตว์
                          2.ประโยชน์ด้านพลังงาน ไบโอแก๊สสามารถที่จะนำมาเป็นเชื้อเพลิงทดแทนการใช้น้ำมัน, แก๊สธรรมชาติ ,ฟืนหรือถ่าน และเป็นเชื้อเพลิงใช้กับเครื่องยนต์เพื่อผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้าได้


 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

การใช้แก๊สชีวภาพเพื่อเป็นเชื้อเพลิงในการหุงต้มนั้นแก๊สชีวภาพ 1ลบม. สามารถปรุงอาหารได้ 3มื้อต่อหนึ่งครอบครัว แก๊สจะเกิดขึ้นตลอดเวลาเมื่อใช้หมดแล้วจะเกิดขึ้นมาใหม่ตราบใดที่เรายังมีการระบายมูลสัตว์เข้าไปในบ่อหมักอยู่ สำหรับการที่จะนำไปเป็นเชื้อเพลิงใช้ในเครื่องยนต์ก็สามารถทำได้ ปัจจุบันมีการปรับแต่งเครื่องยนต์ดีเซลให้สามารถใช้กับแก๊สชีวภาพได้โดยตรง แต่เนื่องจากแก๊สชีวภาพเป็นกลุ่มแก๊สที่ประกอบไปด้วยแก๊สหลายชนิด แก๊สแต่ละชนิดมีคุณสมบัติแตกต่างกันบางชนิดจะเป็นอันตรายต่อเครื่องยนต์เช่น แก๊สไฮโดรเจนซัลไฟด์มีฤทธิ์เป็นกรดจะเข้าไปกัดกร่อนส่วนที่เป็นโลหะให้สึกหรอ และไอน้ำที่มากับแก๊สจะเข้าไปในเครื่องยนต์ทำให้เครื่องยนต์ขัดข้อง ดังนั้นก่อนที่จะนำแก๊สชีวภาพไปใช้กับเครื่องยนต์ต้องมีการดักไอน้ำและแยกไฮโดรเจนซัลไฟด์เสียก่อน
                                แก๊สชีวภาพมีสถานะอยู่ในรูปของแก๊สจึงทำให้เสียพื้นที่มากในการกักเก็บ ในอนาคตถ้ามีการแยกให้ได้แก๊สมีเทนบริสุทธิ์ แล้วหาวิธีเปลี่ยนสถานะจากแก๊สให้เป็นของเหลวหรือของแข็งได้พื้นที่ในการกักเก็บจะน้อยลงจะทำให้การใช้ประโยชน์จากแก๊สชีวภาพในรูปของพล

ทคโนโลยีก๊าซชีวภาพ (Biogas Technology)

          เป็นเทคโนโลยีการย่อยสลายสารอินทรีย์ในสภาวะที่ไร้อากาศ (Anaerobic Digestion Technology) โดยกลุ่มของจุลินทรีย์ (Anaerobic Bactiria Group) ที่ทำหน้าที่ร่วมกันเปลี่ยนรูปสารอินทรีย์ (Organic Matter) โมเลกุลใหญ่ เช่น โปรตีน คาร์โบไฮเดรท และไขมัน ให้เป็นสารโมเลกุลที่เล็กลงและเปลี่ยนรูปให้เป็นกรดอินทรีย์ (Fatty Acid) และเป็นก๊าซชีวภาพ (Biogas) ในที่สุด

องค์ประกอบของก๊าซชีวภาพ

องค์ประกอบหลักของก๊าซชีวภาพ ที่เกิดขึ้นโดยขบวนการย่อยสลายสารอินทรีย์ คือ

          1. ก๊าซมีเทน (CH4) ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักและมีสมบัติเป็นก๊าซเชื้อเพลิง จะมีสัดส่วนอยู่ประมาณร้อยละ 65-70

          2. ก๊าซคาร์บอนไดร์ออกไซด์ (CO2) เป็นส่วนประกอบรอง มีสมบัติเป็นก๊าซเฉื่อยไม่ติดไฟ มีสัดส่วนอยู่ประมาณร้อยละ 28-33

          3. ก๊าซอื่นๆ เช่น ก๊าซไฮโดรเจน (H2) ก๊าซไนโตรเจน (N2) ก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2S) เป็นต้น จะมีอยู่ประมาณร้อยละ 1-2

          ก๊าซชีวภาพที่มีก๊าซมีเทนมากกว่าร้อยละ 50 เมื่อผสมอากาศมากกว่า 5-7 เท่า สามารถจุดไฟติดได้ที่อุณหภูมิประมาณ 600-700 องศาเซลเซียส และให้พลังงานความร้อน ดังนั้นก๊าซชีวภาพจึงสามารถใช้เป็นแหล่งพลังงานทดแทน เพื่อทดแทนพลังงานอื่นๆ ได้

สมบัติและประโยชน์ของก๊าซชีวภาพ