หน้าแรก | เกี่ยวกับโครงการ | หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง | เทคโนโลยีชีวภาพ | ติดต่อเรา
เกี่ยวกับโครการ



 

 

รายการวันนี้
เกณฑ์การสนับสนุนเกณฑ์การสนับสนุน

ข้อเสนอที่สามารถยื่นขอรับการสนับสนุน ต้องผ่านเกณฑ์คุณสมบัติขั้นต่ำ ดังนี้

  1. เป็นระบบผลิตก๊าซชีวภาพจากน้ำเสียหรือของเสีย ที่มีความสามารถในการผลิตก๊าซชีวภาพได้ตั้งแต่ 1,000 ลบ.ม.มาตรฐาน (Nm3)/วัน ขึ้นไป โดยอ้างอิงปริมาณพลังงานตามสัดส่วน %CH4 ในก๊าซชีวภาพที่ 60% (โดยปริมาตร)

  2. มีระบบการนำก๊าซชีวภาพที่ผลิตได้ไปใช้ประโยชน์ในรูปพลังงานทดแทน ตั้งแต่ 80% โดยปริมาตรขึ้นไป โดยอาจผลิตเป็นพลังงานความร้อนทดแทนการใช้เชื้อเพลิงอื่น การผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้าเพื่อใช้เองภายในโรงงานหรือจำหน่ายเข้าระบบของการไฟฟ้า การใช้เป็นแหล่งพลังงานความร้อนเพื่อผลิตน้ำเย็นด้วย Absorption Chiller หรือการผลิตพลังงานความร้อนร่วมในรูปแบบ Cogeneration เป็นต้น

  3. มีการออกแบบและติดตั้งระบบบำบัดน้ำทิ้งขั้นหลัง เพื่อบำบัดน้ำทิ้งที่ออกจากระบบผลิตก๊าซชีวภาพให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานคุณลักษณะน้ำทิ้งที่ระบายออกจากโรงงาน ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม หรือเกณฑ์มาตรฐานสิ่งแวดล้อมอื่นที่เกี่ยวข้อง ในกรณีต้องการนำน้ำทิ้งที่ผ่านการบำบัดจากระบบผลิตก๊าซชีวภาพไปใช้ประโยชน์ทางการเกษตร เช่น ใช้เป็นสารปรับปรุงดิน ผู้ยื่นข้อเสนอต้องนำเสนอแนวทางและวิธีการที่ชัดเจน ในการนำน้ำทิ้งดังกล่าวไปใช้ประโยชน์

หมายเหตุ :  ลบ.ม.มาตรฐาน (Nm3) หมายถึงปริมาตรของก๊าซ ณ สภาวะมาตรฐานความดัน 1 บรรยากาศ
                      (1.01 bara, 14.72 psia) อุณหภูมิ 0 องศาเซลเซียส 

อัตราการสนับสนุน

          การสนับสนุนแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ การสนับสนุนในส่วนค่าที่ปรึกษาออกแบบระบบและการสนับสนุนเงินลงทุนระบบ โดยกำหนดให้เงินสนับสนุนรวมไม่เกินร้อยละ 20 ของค่าใช้จ่ายรวมระหว่างเงินลงทุนของระบบผลิตก๊าซชีวภาพและค่าที่ปรึกษาออกแบบระบบ ทั้งนี้ต้องไม่เกินวงเงินสนับสนุนสูงสุดที่กำหนดไว้สำหรับโรงงานอุตสาหกรรม ดังแสดงในตารางที่ 1

         ผู้ยื่นข้อเสนอจะต้องระบุสัดส่วนเงินสนับสนุนค่าที่ปรึกษาออกแบบระบบและสัดส่วนเงินสนับสนุนค่าลงทุนระบบ ตามการตกลงระหว่างกันของผู้ยื่นข้อเสนอและที่ปรึกษาออกแบบระบบแต่ละราย

          ในการพิจารณาวงเงินสนับสนุน ผู้ยื่นข้อเสนอจะต้องแสดงรายการค่าลงทุนจำแนกรายละเอียด (Breakdown) ตามระบบและอุปกรณ์หลัก เพื่อนำเสนอให้ สนพ. พิจารณาความเหมาะสมของแต่ละรายงาน พร้อมรายละเอียดทางด้านเทคนิคต่างๆ ตามแบบยื่นข้อเสนอทางเทคนิคและแบบยื่นข้อเสนอทางการเงินที่ได้กำหนดไว้ในเอกสารเชิญชวน

ประเภทโรงงานอุตสาหกรรม/ชนิดของเสียหรือน้ำเสีย

เป้าหมาย (แห่ง)

สัดส่วนการสนับสนุน (%)*

วงเงินสนับสนุนสูงสุดต่อแห่ง

(ล้านบาท)

1.โรงงานผลิตผลิตภัณฑ์จากแป้ง เช่น แป้งมันสำปะหลัง แป้งข้าวเจ้า ฯลฯ (น้ำเสีย/กากมัน)

15

20%

10.0

2.โรงงานสกัดน้ำมันพืชหรือผลิตน้ำมันพืชบริสุทธิ์ เช่น น้ำมันปาล์ม ฯลฯ (น้ำเสีย/กากตะกอน)

11

20%

10.0

3.โรงงานเอทานอล (น้ำเสีย)

5

20%

20.0

4.โรงงานน้ำยางข้น (น้ำเสีย)

5

20%

6.0

5.โรงงานแปรรูปอาหาร (น้ำเสีย/กากของเสีย)

20

20%

6.0

6.โรงงานอื่นๆ

-

20%

6.0

รวม

56

หมายเหตุ : *สัดส่วน %เงินสนับสนุน คำนวณจากค่าใช้จ่ายรวมระหว่างเงินลงทุนของระบบผลิตก๊าซชีวภาพและค่าที่ ปรึกษาออกแบบระบบ

          สนพ. สงวนสิทธิ์ที่จะไม่สนับสนุนในส่วนของ "ค่าที่ปรึกษาออกแบบ" สำหรับผู้ยื่นข้อเสนอที่ได้รับการสนับสนุนค่าที่ปรึกษาออกแบบระบบผลิตก๊าซชีวภาพจากหน่วยงานรัฐบาล

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เทคโนโลยีชีวภาพ