ระบบก๊าซชีวภาพสำหรับโรงงานชำแหละและแปรรูปเนื้อสุกร : สามพราน ซลอเทอร์เฮาส์
โรงงานชำแหละสุกร สามพรานซลอเทอร์เฮาส์
เลขที่ 145 หมู่ 1 ต.ยายชา อ.สามพราน นครปฐม 73110
ขนาดของการผลิต
• ชำแหละสุกรจำนวน 130 ตัว/วัน กำลังผลิตสูงสุด 400 ตัว/วัน
ปริมาณน้ำเสีย
• น้ำเสียจากโรงงานประเภทเลือดและไขมัน จำนวน 120 ลบ.ม./ วัน
COD 5,504 มิลลิกรัม/ ลิตร
BOD 1,373 มิลลิกรัม/ ลิตร
เทคโนโลยีก๊าซชีวภาพ
• ระบบก๊าซชีวภาพ แบบ บ่อหมักรางร่วมกับบ่อหมักแบบยูเอเอสบี 200 ลบ.ม
ความสามารถในการผลิตก๊าซชีวภาพ
• ผลิตก๊าซชีวภาพ 73 ลบ.ม./ วัน
การนำก๊าซชีวภาพไปใช้ประโยชน์
• เป็นเชื้อเพลิงสำหรับหม้อไอน้ำ เพื่อใช้อุ่นน้ำก่อนที่จะนำไปใช้ในกระบวนการผลิต
ผลประโยชน์
• ทดแทนก๊าซ LPG เดือนละ 2 3 ถัง (ถังขนาด 45 กก.) จำนวน 1,035 กก เท่ากับ 1 8, 400 บาท/ เดือน
ประโยชน์ด้านอื่นๆ
• บำบัดน้ำเสีย
• ลดปัญหาเรื่องกลิ่นและแมลงรบกวน
เงินลงทุน
• 4,000,000 บาท (รวมระบบเติมอากาศขั้นหลังและสวนหย่อมแล้ว) เดินระบบมาตั้งแต่วันที่ 11 ธันวาคม 2549
ผลตอบแทนการลงทุน (ระยะเวลาคืนทุน)
• ปี (คำนวนที่กำลังผลิต 400 ตัว/วัน)
ก๊าซชีวภาพ สู่มาตรฐานสิ่งแวดล้อม
สุพรรณ์ ธีรานุวัฒน์ ประกอบธุรกิจของครอบครัวด้วยการเลี้ยงสุกรมาก่อนและยังทำอยู่ในปัจจุบัน ด้วยแนวคิดที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและสังคมของครอบครัว จึงเลี้ยงสุกรแบบปลอดสารพิษและรักษาสิ่งแวดล้อม ไม่ปล่อยมลพิษจากฟาร์มให้รบกวนชุมชนและสิ่งแวดล้อม ซึ่งอาจถือเป็นแบบอย่างของผู้ประกอบธุรกิจที่มีจิตสำนึกด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม
สุพรรณ์ได้ใช้เทคโนโลยีระบบก๊าซชีวภาพกับฟาร์มสุกรมาแล้วและเป็นที่พอใจ จึงคุ้นเคยกับระบบก๊าซชีวภาพ และทราบถึงประโยชน์ที่ได้จากระบบก๊าซชีวภาพเป็นอย่างดี เมื่อครอบครัวขยายธุรกิจมาประกอบกิจการโรงชำแหละเนื้อสัตว์ โดยจัดตั้ง บริษัท สามพราน ซลอเทอร์เฮาส์ จำกัด ที่จังหวัดนครปฐม ซึ่งอยู่ใจกลางชุมชน สุพรรณ์จึงตัดสินใจเลือกใช้เทคโนโลยีก๊าซชีวภาพในการช่วยบำบัดน้ำเสีย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นน้ำล้างเลือด ไขมัน และของเสียในตัวและลำไส้สุกร ประกอบกับความต้องการให้เป็นโรงงานที่ได้มาตรฐานความปลอดภัยด้านอนามัย และมาตรฐานสิ่งแวดล้อม จึงเป็นทางเลือกที่ถูกต้องในการเลือกบำบัดน้ำเสียด้วยระบบก๊าซชีวภาพ โดยได้เข้าร่วมโครงการกับ กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน
![](picture/ex_sampran1.gif) |
![](picture/ex_sampran1.gif) |
สามพราน ซลอเทอร์เฮาส์ มีขนาดของการผลิต 400 ตัว/วัน แต่ปัจจุบันชำแหละสุกรจำนวน 130 ตัว/วัน มีปริมาณน้ำเสียจากโรงงานประเภทเลือดและไขมัน จำนวน 120 ลบ.ม./ วัน ใช้เทคโนโลยีระบบก๊าซชีวภาพ แบบ บ่อหมักรางร่วมกับบ่อหมักแบบยูเอเอสบี (Channel Digester + UASB ) ขนาด 200 ลบ.ม. โดยใช้พื้นที่เพียงประมาณ 100 ตารางวา สามารถผลิตก๊าซชีวภาพได้ 73 ลบ.ม./ วัน โดยได้นำก๊าซชีวภาพไปใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับหม้อต้มไอน้ำ เพื่อใช้อุ่นน้ำส่งไปใช้ในกระบวนการผลิต ซึ่งสามารถทดแทนก๊าซหุงต้ม (LPG ) ได้เดือนละ 2 3 ถังใหญ่ (ถังขนาด 45 กก.) คิดเป็น 1,035 กก. เป็นจำนวนเงินที่ประหยัด 18,400 บาท/ เดือน
นอกจากได้ก๊าซชีวภาพเป็นพลังงานแล้ว ประโยชน์ที่สำคัญอย่างมาก สำหรับโรงชำแหละสัตว์ซึ่งอยู่ใกล้ชุมชน มีพื้นที่น้อย และต้องรักษาสุขอนามัยของโรงงาน และสิ่งแวดล้อม ก็คือ การบำบัดน้ำเสียที่มีปริมาณมากและกำจัดได้ยาก ซึ่งหากกำจัดผิดวิธีก็จะเกิดปัญหาเรื่องกลิ่นและแมลง และปัญหาสิ่งแวดล้อมชุมชน
จึงทำให้สามพราน ซลอเทอร์ เฮาส์ เป็นโรงงานที่ได้มาตรฐานอนามัยและสิ่งแวดล้อม สามารถส่งเนื้อสุกรขายได้อย่างกว้างขวางและได้ราคา