ระบบก๊าซชีวภาพสำหรับโรงงานน้ำมันปาล์ม
บริษัท ชุมพรอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มจำกัด (มหาชน)
โรงงานน้ำมันปาล์ม
บริษัท ชุมพรอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม จำกัด (มหาชน)
296 หมู่ 2 ต.สลุย อ.ท่าแซะ จ.ชุมพร 86140
ขนาดของการผลิต
• ปาล์มสด 100 - 1,400 ตัน/ วัน
ปริมาณน้ำเสีย
• น้ำเสียจากขบวนการผลิตน้ำมันปาล์มดิบ ( CPO ) 500-700 ลบ.ม./ วัน
COD 100,000 มิลลิกรัม/ ลิตร
BOD 70,000 มิลลิกรัม/ ลิตร
• น้ำเสียจากขบวนการผลิตน้ำมันปาล์ม (Refinery Oil ) 300 ลบ.ม./ วัน
COD 70,000 มิลลิกรัม/ ลิตร
BOD 40,000 มิลลิกรัม/ ลิตร
เทคโนโลยีก๊าซชีวภาพ
• แบบ A+CSRTTh 6,000 ลบม.
• และแบบ A+UASB Th 400 ลมบ.
ความสามารถในการผลิตก๊าซชีวภาพ
• ผลิตก๊าซชีวภาพ 15,000-22,000 ลบม./ วัน
การนำก๊าซชีวภาพไปใช้ประโยชน์
• ป้อนเข้าหม้อต้มไอน้ำ เพื่อผลิตไฟฟ้า และไอน้ำ
ผลประโยชน์
• ประหยัดชีวมวล (กะลา และทะลายปาล์ม) ทั้งระบบ 40,000-60,000 กก./ วัน เท่ากับ 100,000-150,000 บาท/ วัน
• ผลิตปุ๋ยอินทรีย์แห้ง 5 ตัน/ วัน เท่ากับ 5,000 บาท/ วัน
• นำน้ำปุ๋ยหมุนเวียนมาใช้ในสวนปาล์ม 600 ลบม./ วัน เท่ากับ 1,200 บาท/ วัน
ประโยชน์ด้านอื่นๆ
• เปลี่ยนน้ำเสียให้เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่า
• ลดปัญหาเรื่องกลิ่น แมลงรบกวน และบำบัดน้ำเสีย
• เพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของหม้อต้มไอน้ำ
• อนุรักษ์พลังงาน และรักษาสิ่งแวดล้อมของโรงงาน
เงินลงทุน
• 70 ล้านบาท : ระบบก๊าซชีวภาพทั้งระบบ พร้อมระบบส่งก๊าซชีวภาพไปยังหม้อต้มไอน้ำ และ ระบบ Burner ก๊าซชีวภาพ
ผลตอบแทนการลงทุน (ระยะเวลาคืนทุน)
• 2-3 ปี
บริษัทมหาชนผู้เลือกใช้เทคโนโลยีก๊าซชีวภาพ
บริษัท ชุมพรอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทแรกของธุรกิจอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มในประเทศไทย ที่นำบริษัทเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ ในปี 2536 ดำเนินธุรกิจปาล์มน้ำมันอย่างครบวงจร ตั้งแต่ทำสวนปาล์มกว่า 20,000 ไร่ โรงสกัดน้ำมันปาล์มดิบ โรงกลั่นน้ำมันปาล์มดิบ ไปจนถึงการผลิต ผลิตภัณฑ์น้ำมันปาล์มประเภทต่างๆ ที่ได้คุณภาพมาตรฐาน โดยใช้เทคโนโลยีในการผลิตจากยุโรป จึงได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ และเป็นที่ยอมรับในระดับมาตรฐานสากล
![](picture/ee copy.gif) |
ในระยะแรกโรงงานกลั่นน้ำมันปาล์มของบริษัท ซึ่งตั้งอยู่ที่ 296 หมู่ 2 ต.สลุย อ.ท่าแซะ จ.ชุมพร มีกำลังการผลิตปาล์มสด 100-1,400 ตัน/ วัน ได้ใช้ระบบบำบัดน้ำเสียแบบบ่อเปิด เมื่อต้องการหาระบบบำบัดน้ำเสียที่มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม และเนื่องจากเป็นบริษัทมหาชน จึงได้ให้ความสำคัญกับการหาข้อมูล ความรู้ จากนักวิชาการมากมายหลายสาขา เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจเป็นระยะเวลาพอสมควร สุดท้ายจึงมาสรุปที่เลือกใช้เทคโนโลยีระบบก๊าซชีวภาพแบบ A+CSRTTh ขนาด 6,000 ลบ.ม. และแบบ A+UASB Th ขนาด 400 ลบ.ม. เพื่อบำบัดน้ำเสียจากขบวนการผลิตน้ำมันปาล์มดิบ (CPO ) 500-700 ลบ.ม./ วัน และน้ำเสียจากขบวนการผลิตน้ำมันปาล์ม (Refinery Oil ) 300 ลบม./ วัน
ระบบก๊าซชีวภาพเริ่มเปิดใช้ในปี 2550 นี้ และสามารถบำบัดน้ำเสียได้อย่างดี มีความสามารถในการผลิตก๊าซชีวภาพได้ 15,000-22,000 ลบม./ วัน โดยได้ป้อนเข้าหม้อต้มไอน้ำ เพื่อผลิตไฟฟ้า และผลิตไอน้ำใช้ในกระบวนผลิตในโรงงาน การใช้ก๊าซชีวภาพได้ไปทดแทนเชื้อเพลิงชีวมวล เช่น กะลา และทะลายปาล์ม ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงดั้งเดิม ทั้งระบบ 40,000-60,000 กก./ วัน มีมูลค่าการประหยัดโดยไม่ต้องหาซื้อชีวมวลเท่ากับ 100,000-150,000 บาท/วัน
นอกจากนี้ระบบยังผลิตปุ๋ยอินทรีย์แห้งได้ 5 ตัน/ วัน มูลค่าเท่ากับ 5,000 บาท/ วัน และนำน้ำปุ๋ยจากระบบกลับไปหมุนเวียนมาใช้ในสวนปาล์มได้ 600 ลบ.ม./ วัน เท่ากับ 1,200 บาท/ วัน
นับว่าเป็นบริษัทมหาชนที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม และอนุรักษ์พลังงานบริษัทหนึ่ง ที่ควรได้รับการยกย่องอย่างยิ่ง