เกี่ยวกับโครงการ
เทคโนโลยีชีภาพ

รายการวันนี้


 

 

ตัวอย่างเทคโนโลยีชีวภาพ


<< หน้าแรก >> | ตัวอย่างเทคโนโลยีชีวภาพ >>

ระบบก๊าซชีวภาพสำหรับโรงงานแป้งมันสำปะหลัง บริษัท แป้งตะวันออกเฉียงเหนือ (1987) จำกัด

บริษัท แป้งตะวันออกเฉียงเหนือ ( 1987 ) จำกัด
อ. เมือง จ. นครราชสีมา

ขนาดของการผลิต
     •  กำลังการผลิต 180-200 ตันแป้ง/ วัน

ปริมาณน้ำเสีย

     •  น้ำเสียจากการแยกแป้ง จำนวน 2,500-3,000 ลบ.ม./ วัน
        COD 18,000 มิลลิกรัม/ ลิตร
        BOD 9,000 มิลลิกรัม/ ลิตร

เทคโนโลยีก๊าซชีวภาพ
     •  แบบตรึงฟิล์มจุลินทรีย์ชนิดไม่ใช้อากาศ ( Anaerobic Fixed Film ) เป็นระบบที่มีวัสดุตัวกลางให้เชื้อจุลินทรีย์ยึดเกาะ ช่วยเก็บรักษาเชื้อ ซึ่งเป็นจุดเด่นที่สำคัญ
     •  ขนาดปริมาตรรวมของระบบ 12,000 ลบ.ม. (ปริมาตรบรรจุน้ำ 9,800 ลบ.ม. ปริมาตรบรรจุก๊าซ 2,200 ลบ.ม.)
 
ความสามารถในการผลิตก๊าซชีวภาพ
     •  ผลิตก๊าซชีวภาพ 17,000 ? 20,000 ลบ.ม./ วัน

การนำก๊าซชีวภาพไปใช้ประโยชน์
     •  ทดแทนการใช้ก๊าซ LPG ที่โรงงานผลิตถ่านกัมมันต์ (Activated Carbon ) ซึ่งเป็นโรงงานในเครือ
     •  ใช้เป็นเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์ผลิตกระแสไฟฟ้า

ผลประโยชน์

     •  ทดแทนการใช้ก๊าซ LPG มูลค่า 100,000 บาท/ วัน

ประโยชน์ด้านอื่นๆ
     •  ลดความสกปรกของน้ำเสียในรูป COD ได้มากกว่าร้อยละ 80 ทำให้ลดพื้นที่ของ
บ่อบำบัดเดิมลงได้กว่าครึ่งหนึ่งจากเดิม
     •  ลดปัญหาก๊าซเรือนกระจก ทั้งยังเพิ่มรายได้ให้โรงงานจากกระบวนการ CDM
     •  ลดปัญหาเรื่องกลิ่นรบกวน

เงินลงทุน
     •  งานโครงสร้างโยธาถังปฏิกรณ์ วัสดุตัวกลาง ระบบท่อน้ำและและก๊าซ รวมถึงระบบความปลอดภัยและระบบควบคุม รวม 40 ล้านบาท

ผลตอบแทนการลงทุน (ระยะเวลาคืนทุน)
     •  ขึ้นอยู่กับปริมาณการผลิต หากมีการผลิต 6 เดือน/ ปี ระยะเวลาคืนทุน 2.5-3 ปี

ไบโอแก๊สสร้างกำไรเพื่อธุรกิจและสิ่งแวดล้อม
          ประเทศไทยมีโรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลังประมาณ 77 โรง จะเกิดน้ำเสียถึง 40 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน สร้างปัญหาเรื่องกลิ่นเหม็นรบกวนและต้นทุนในการบำบัดน้ำเสียที่มีมูลค่าสูงมหาศาล ที่สำคัญที่สุดคือการปล่อยมลพิษสู่สิ่งแวดล้อม และส่งผลต่อชุมชมที่อยู่ใกล้เคียง
บริษัท แป้งตะวันออกเฉียงเหนือ ( 1987) จำกัด เป็นโรงงานดำเนินธุรกิจผลิตแป้งมันสำปะหลังเพื่อจำหน่ายทั้งในและต่างประเทศ มีกำลังการผลิต 180-200 ตันแป้งต่อวัน เคยประสบกับปัญหาในเรื่องของกลิ่นเหม็นจากน้ำทิ้งในกระบวนการผลิตที่ส่งผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม และการอยู่ร่วมกันในชุมชน ซึ่งทางบริษัทฯ ได้พยายามหาวิธีในการบำบัดเพื่อแก้ไขปรับปรุงสภาพให้มีความเหมาะสม และด้วยการสนับสนุนของ กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ที่ส่งเสริมให้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี วิจัยและพัฒนาระบบผลิตก๊าซชีวภาพสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลัง ได้กลายเป็นหนทางในการแก้ปัญหาที่พิสูจน์ผลได้อย่างน่าพอใจ เมื่อบริษัทฯ ตัดสินใจเข้าร่วมโครงการนำร่อง ก่อสร้างระบบการบำบัดน้ำเสียเพื่อผลิตก๊าซชีวภาพแบบตรึงฟิล์มจุลินทรีย์ชนิดไม่ใช้อากาศ ( Anaerobic Fixed Film ) เป็นระบบที่มีวัสดุตัวกลางให้เชื้อจุลินทรีย์ยึดเกาะ ช่วยเก็บรักษาเชื้อ ซึ่งถือเป็นจุดเด่นที่สำคัญของระบบนี้ ด้วยเงินลงทุนก่อสร้างระบบทั้งหมดกว่า 40 ล้านบาท ปัจจุบันบริษัทฯ สามารถผลิตก๊าซชีวภาพ 17,000-20,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน เป็นพลังงานทดแทนการใช้ก๊าซ LPG ที่โรงงานผลิตถ่านกัมมันต์ (Activated Carbon ) ซึ่งเป็นโรงงานในเครือ และใช้เป็นเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์ผลิตกระแสไฟฟ้า ทำให้ประหยัดการใช้ก๊าซ LPG มูลค่า 100,000 บาท/ วัน

  นอกจากนี้ยังช่วยปรับปรุงคุณภาพสิ่งแวดล้อม ลดปัญหาเรื่องกลิ่นเหม็นที่เกิดจากการย่อยสลายของน้ำเสียที่มีความสกปรกสูง โดยสามารถบำบัดน้ำเสียได้ถึงร้อยละ 80 ก่อนปล่อยออกสู่ระบบบำบัดขั้นหลัง ซึ่งอัตราความสกปรกของน้ำเสียในบ่อเปิดที่มีปริมาณน้อยลง ช่วยให้ลดผลกระทบต่อน้ำผิวดินและน้ำใต้ดินเป็นอย่างมาก อีกทั้งน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดแล้วยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการปลูกพืชได้อีกด้วย

          ซึ่งพิสูจน์ให้เห็นว่าระบบก๊าซชีวภาพมีความคุ้มค่าต่อการลงทุน เป็นแหล่งพลังงานทดแทนที่ช่วยลดภาระต้นทุนด้านเชื้อเพลิง อีกทั้งยังสร้างพลังงานใสสะอาดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริง