เกี่ยวกับโครงการ
เทคโนโลยีชีภาพ

รายการวันนี้


 

 

ตัวอย่างเทคโนโลยีชีวภาพ
ระบบก๊าซชีวภาพสำหรับฟาร์มสุกรขนาดเล็ก : ดอนแก้วฟาร์ม

ขนาดของฟาร์ม
     • แม่หมู    250    ตัว     ลูกหมู    500    ตัว

ปริมาณน้ำเสีย
     • น้ำเสียจากฟาร์ม     จำนวน 20    ลบ.ม./ วัน             
       COD    18,000    มิลลิกรัม/ ลิตร            
       BOD    10,000    มิลลิกรัม/ ลิตร

เทคโนโลยีก๊าซชีวภาพ
     • ระบบก๊าซชีวภาพแบบ บ่อโดมคงที่ ( Fixed Dome) ขนาด 100 ลบม. จำนวน 2 บ่อ

ความสามารถในการผลิตก๊าซชีวภาพ
     • ผลิตก๊าซชีวภาพ    90    ลบ.ม./ วัน

การนำก๊าซชีวภาพไปใช้ประโยชน์
     • นำไปใช้หุงต้มในครัวเรือน    ทดแทนก๊าซหุงต้ม
     • ส่งก๊าซชีวภาพให้ใช้ฟรีภายในหมู่บ้าน จำนวน    102    ครัวเรือน

ผลประโยชน์
•ประชาชนชาวบ้านหนองฟาน จำนวน 102 ครัวเรือน (ที่เข้าร่วมโครงการ) สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้อก๊าซหุงต้มได้
     • ประหยัดครอบครัวละประมาณ 2,500  บาท/ปี     หรือรวมปีละประมาณ 250,000 บาท
     • ผลิตปุ๋ยอินทรีย์แห้ง     1,000    บาท/ เดือน

ประโยชน์ด้านอื่นๆ
     • บำบัดน้ำเสีย
     • ลดปัญหาเรื่องกลิ่นและแมลงรบกวน
     • สามารถอยู่ร่วมกับชุมชนได้

เงินลงทุน 
     • 2 บ่อ     320,000  บาท

ผลตอบแทนการลงทุน (ระยะเวลาคืนทุน)
     •        ปี

ก๊าซชีวภาพ สร้างสุขในชุมชน

          ในช่วงก่อนปี 2543 สุทัศน์ คำมาลัย ในวัย 42 ปี เจ้าของฟาร์มเลี้ยงสุกรและชาวบ้านต่างนอนไม่ค่อยหลับ เพราะมีกลิ่นและแมลงรบกวน สุทัศน์นอนไม่หลับและเป็นกังวลยิ่งกว่าเพื่อนบ้านมากนัก    เนื่องเพราะไม่รู้ว่าจะย้ายฟาร์มได้อย่างไร เพราะต้องใช้เงินลงทุนไม่ใช่น้อย หรืออาจต้องเลิกอาชีพนี้ไปเลยก็สุดจะคาดเดา
เนื่องจากเพื่อนบ้าน บ้านสบสา - หนองฟาน ตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่    จำนวน 108 ครัวเรือน ได้รับความเดือดร้อนจากกลิ่นและแมลงวัน  จึงเรียกร้องให้ อบต. ดอนแก้วจัดการกับปัญหามลภาวะดังกล่าว โดยการให้ทางเจ้าของฟาร์มสุกรเลิกกิจการไป ความขัดแย้งระหว่างชาวบ้าน อบต.และเจ้าของฟาร์มเริ่มก่อตัวและมากขึ้นอย่างไม่อาจหลีกได้

          หลังจากหาคำตอบอยู่พอสมควร    สุทัศน์ก็พบทางออก  เมื่อได้ไปร่วมสัมมนากับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่  และทราบว่า กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน  ได้ให้การสนับสนุนผ่านกรมส่งเสริมการเกษตร ในการอุดหนุนเงินลงทุนสร้างบ่อก๊าซชีวภาพเพื่อบำบัดน้ำเสียและพลังงานทดแทน   โดย กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ได้สนับสนุนเงินลงทุนประมาณครึ่งหนึ่ง  80,000  บาท ที่เหลือสุทัศน์ได้กู้ยืมจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธกส.) ผ่อนชำระประมาณ 8 ปี
  ในปี 2543 สุทัศน์เจ้าของดอนแก้วฟาร์มแห่งเดียวในหมู่บ้าน จึงตัดสินใจสร้างบ่อก๊าซชีวภาพ ด้วยเงินลงุทน 160,000  บาท  สำหรับติดตั้งระบบก๊าซชีวภาพแบบบ่อโดมคงที่ (Fixed Dome ) ซึ่งเป็นบ่อก๊าซชีวภาพที่เหมาะสมกับฟาร์มขนาดเล็ก  ใช้เงินลงทุนน้อย ก่อสร้างและดูแลรักษาง่าย ขนาด 100 ลูกบาศก์เมตร จำนวน  1  บ่อ

          แล้วปัญหาเรื่องกลิ่นและแมลงรบกวนทั้งตัวเองและเพื่อนบ้านก็ค่อยๆ หายไป

          สิ่งที่มาทดแทนคือรอยยิ้มของสุทัศน์และเพื่อนบ้าน เป็นรอยยิ้มที่ร่วมกันแก้ปัญหาได้ ชุมชนอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข    อีกทั้งก๊าซชีวภาพที่ได้    สุทัศน์ยังส่งต่อไปยังครัวเรือนของเพื่อนบ้านเพื่อให้ได้ใช้แทนก๊าซหุงต้มกันอย่างถ้วนหน้า ปัจจุบันสุทัศน์ได้เป็นผู้ใหญ่สุทัศน์  ประกอบอาชีพเลี้ยงแม่หมูประมาณ 250 ตัว ลูกหมู 500 ตัว และสร้างบ่อก๊าซชีวภาพเพิ่มอีก 1 บ่อ โดยการสนับสนุนจาก อบต. รวม 2 บ่อ สามารถผลิตก๊าซชีวภาพได้ ประมาณ  90 ลูกบาศก์เมตร/วัน  และได้เดินท่อจ่ายก๊าซชีวภาพผ่านท่อพีวีซีไปใช้ในครัวเรือนทดแทนก๊าซหุงต้ม   ให้คนในภายในหมู่บ้านได้ใช้ก๊าซฟรี  จำนวน 102 ครัวเรือน  คิดเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายครอบครัวละประมาณ 2,500  บาท/ปี  หรือรวมทั้งหมู่บ้านปีละประมาณ  250,000 บาท

 




<< หน้าแรก >> | ตัวอย่างเทคโนโลยีชีวภาพ >>