รายการวันนี้
เกี่ยวกับโครงการ
เทคโนโลยีชีภาพ


 

 

ตัวอย่างเทคโนโลยีชีวภาพ

ระบบก๊าซชีวภาพสำหรับโรงงานน้ำมันปาล์ม : บริษัท เอเชียน น้ำมันปาล์ม จำกัด

บริษัท เอเชียน น้ำมันปาล์ม จำกัด
99 หมู่ 2 ต.อ่าวลึกใต้ อ.อ่าวลึก จ.กระบี่ 81110
ขนาดของการผลิต
     •  45 ตันผลปาล์มสด/ ชั่วโมง

ปริมาณน้ำเสีย

     •  น้ำเสียจำนวน 300 ลบม./ วัน
        COD 45,559 มิลลิกรัม/ ลิตร
        BOD 26,666 มิลลิกรัม/ ลิตร

เทคโนโลยีก๊าซชีวภาพ
      •  ระบบก๊าซชีวภาพ แบบ CSTR (Completely Stirred Tank Reactor ) 2,200 ลบ.ม.
 
ความสามารถในการผลิตก๊าซชีวภาพ
     •  ผลิตก๊าซชีวภาพ 4,295 ลบม./ วัน สูงสุด 6,000 ลบ.ม./ วัน

การนำก๊าซชีวภาพไปใช้ประโยชน์
     •  นำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์ก๊าซชีวภาพเพื่อกระแสผลิตไฟฟ้า

ประโยชน์
     •  ผลิตพลังงานไฟฟ้า กำลังผลิตประมาณ 300 กิโลวัตต์ ได้พลังงานไฟฟ้าประมาณ 2 ล้านหน่วย/ ปี หรือประมาณ 6-7 ล้านบาท/ ปี เหลือใช้ส่งขาย กฟภ. 4.9 ล้านบาท/ ปี

ประโยชน์ด้านอื่นๆ
     •  เพิ่มประสิทธิภาพของระบบบำบัดน้ำเสีย
     • ลดปัญหาเรื่องกลิ่นและแมลงรบกวน
     •  ภาพลักษณ์ที่ดีต่อบริษัทฯ ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม
    •  เป็นแหล่งเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ด้านพลังงานทดแทน

เงินลงทุน
     •  40 ล้านบาท (ส่วนผลิตก๊าซ 10 ล้านบาท ส่วนผลิตไฟฟ้า 30 ล้านบาท)

ผลตอบแทนการลงทุน (ระยะเวลาคืนทุน)
     •  6 ปี
สร้างโอกาสจากวิกฤตด้วยก๊าซชีวภาพ

          ปาล์มน้ำมันเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย ในปัจจุบันมีโรงงานน้ำมันปาล์มที่สกัดและกลั่นน้ำมันปาล์มอยู่ 76 โรง มีกำลังการผลิต 5 ล้านตัน ต่อปี ซึ่งก่อให้เกิดน้ำเสียถึง 2.5 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี ปริมาณน้ำเสียจำนวนมหาศาลจากจากกระบวนการผลิตน้ำมันปาล์ม รวมถึงกากตะกอนอีกจำนวนมหาศาล ได้สร้างปัญหาในด้านมลพิษที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชมใกล้เคียง อีกทั้งยังกลายเป็นรายจ่ายส่วนเกินที่ทำให้ต้นทุนในการผลิตสูงขึ้น 

  บริษัท เอเชี่ยนน้ำมันปาล์ม จำกัด เป็นโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มดิบในจังหวัดกระบี่ มีกำลังการผลิตน้ำมันปาล์มดิบ 41 ,000 ตันน้ำมันดิบต่อปี จากจำนวนของผลปาล์มสด 216, 000 ตัน เคยประสบปัญหาเรื่องกลิ่นเหม็นและน้ำทิ้งจากกระบวนการผลิต เพราะไม่มีระบบการบำบัดที่ดี จนถูกชาวบ้านในพื้นที่ใกล้เคียงร้องเรียน และเกือบถูกกรมโรงงานอุตสาหกรรมสั่งปิดโรงงาน แต่ด้วยการสนับสนุนของ กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน สำนักงานนโยบายและแผนพัฒนาพลังงาน (สนพ.) ร่วมกับคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ให้คำแนะนำในการดำเนินโครงการพัฒนาก๊าซชีวภาพจากน้ำเสียของโรงงาน เมื่อปี พ.ศ.2545 ปัญหาดังกล่าวก็ได้ถูกคลี่คลาย ทำให้บริษัทฯ สามารถดำเนินธุรกิจโดยจัดการปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปกับการอยู่ร่วมกันของชุมชนอย่างเป็นสุขและยั่งยืน ด้วยเงินลงทุนมูลค่า 40 ล้านบาท สำหรับระบบก๊าซชีวภาพแบบ CSTR รวมถึงระบบผลิตไฟฟ้า ในปัจจุบันบริษัทฯ ได้นำก๊าซชีวภาพมาใช้เป็นเชื้อเพลิงทดแทนในการผลิตกระแสไฟฟ้าได้ประมาณ 2 ล้านหน่วย/ปี สำหรับใช้ภายในโรงงานเอง และยังมีส่วนที่เหลือใช้ได้ส่งจำหน่ายให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) คิดเป็นรายได้จากการขายไฟฟ้าสูงกว่า 4. 9 ล้านบาทต่อปี
 
          บริษัท เอเชียนน้ำมันปาล์ม จำกัด ได้ถูกจัดให้เป็นโรงงานน้ำมันปาล์มต้นแบบที่ใช้เทคโนโลยีการบำบัดน้ำเสียโดยใช้ระบบก๊าซชีวภาพ และเป็นแหล่งศึกษาให้แนวทางแก่บริษัทอื่นๆ ในฐานะบริษัทที่มีนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมนำไปสู่การปฏิบัติที่เห็นผลอย่างต่อเนื่องและชัดเจน จนได้รับรางวัล Thailand Energy Awards 2007 และ ASEAN Renewable Energy Awards 2007

 



<< หน้าแรก >> | ตัวอย่างเทคโนโลยีชีวภาพ >>