เกี่ยวกับโครงการ
เทคโนโลยีชีภาพ

 

รายการวันนี้
ผู้เข้าร่วมโครงการ

บริษัท อีเอช แอนด์ พี รีนิวเอเบิล จำกัด

ประเภทอุตสาหกรรม : ผลิตแป้งมันสำปะหลัง
ชนิดน้ำเสีย : น้ำเสียโรงงานแป้งมันสำปะหลัง
ปริมาณน้ำเสียป้อนเข้าระบบ Biogas (m3/day) : 8,800
ค่า COD น้ำเสียเข้าระบบ (mg/L) : 17,500
เทคโนโลยีที่ใช้: ระบบ Acidification+UASB
ชื่อที่ปรึกษา: บริษัท ปภพ จำกัด
ปริมาณก๊าซชีวภาพที่ผลิตได้(Nm3/ปี) : 19,737,510
ปริมาณก๊าซชีวภาพที่ใช้ประโยชน์ในการผลิตความร้อน(Nm3/ปี) : 6,435,000
ปริมาณก๊าซชีวภาพที่ใช้ประโยชน์ในการผลิตไฟฟ้า(Nm3/ปี) : 12,639,250
รวมปริมาณก๊าซชีวภาพที่ใช้ประโยชน์(Nm3/ปี) : 19,074,250
สถานภาพ : อยู่ระหว่างก่อสร้าง

ขอบเขตการดำเนินงาน
จัดสร้างระบบผลิตก๊าซชีวภาพด้วยเทคโนโลยี Acidification + UASB เพื่อบำบัดน้ำเสียของโรงงานแป้งมันสำปะหลัง โดยออกแบบให้รับน้ำเสียที่อัตรา 8,800 ลบ.ม./วัน ที่ภาระสารอินทรีย์ 154,000 kg-COD/วัน (น้ำเสียมีค่า COD 17,500 mg/liter และค่า BOD5 10,250 mg/liter) น้ำทิ้งที่ออกจากระบบผลิตก๊าซชีวภาพจะถูกส่งไปบำบัดต่อในระบบบ่อผึ่งเดิมของโรงงานจำนวน 15 บ่อ และน้ำทิ้งสุดท้ายจะถูกนำไปใช้ในพื้นที่การเกษตรรอบโรงงาน

การใช้พลังงานทดแทน

ระบบผลิตก๊าซชีวภาพที่ก่อสร้างสามารถผลิตก๊าซชีวภาพได้ 69,301 Nm3/วัน โดยก๊าซชีวภาพที่ผลิตได้ประมาณ 65,000 Nm3/วัน หรือคิดเป็น ร้อยละ 94 จะถูกนำไปใช้ทดแทนน้ำมันเตาเพื่อผลิตความร้อนใช้ในโรงงาน เป็นปริมาณ 21,667 Nm3/วัน และป้อนเครื่องยนต์ก๊าซเพื่อผลิตไฟฟ้าเป็นปริมาณ 43,333 Nm3/วัน ผลดังกล่าวคาดว่าจะสามารถทดแทนน้ำมันเตาได้รวม 3,480,000 ลิตร/ปี คิดเป็นมูลค่า 38.61 ล้านบาท/ปี และผลิตไฟฟ้าได้ขนาด 3.8 MW เป็นปริมาณพลังงานไฟฟ้า 27,417,450 kWh/ปี คิดเป็นมูลค่า 75.5 ล้านบาท/ปี

งบประมาณ
ค่าใช้จ่ายของโครงการฯ รวมทั้งสิ้น 240,325,277 บาท ประกอบด้วย

1) ค่าก่อสร้างระบบผลิตก๊าซชีวภาพ

 115,769 บาท

2) ค่าก่อสร้างระบบนำก๊าซชีวภาพไปใช้ประโยชน์

109,376,575 บาท

3) ค่าจ้างที่ปรึกษาออกแบบระบบ

4,280,000 บาท  

4) ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ได้แก่ ดอกเบี้ยเงินกู้ และค่าสาธารณูปโภคต่างๆ

 10,899,360 บาท

  วงเงินสนับสนุนจากกองทุนรวม

10,000,000 บาท

 


 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 



บริษัท อีเอช แอนด์ พี รีนิวเอเบิล จำกัด

ซึ่งเป็นส่วนขยายการผลิตจาก

บริษัท แป้งมันเอี่ยมเฮงอุตสาหกรรม จำกัด

 พื้นที่ทางการเกษตรตัวอย่างของโรงงาน

 Line การผลิตที่ 3 ของโรงงาน

กระบวนการล้างและปอกเปลือกหัวมันสำปะหลัง

โดยใช้น้ำบางส่วนที่ผ่านการบำบัดขั้นหลังแล้ว

 บริเวณพื้นที่ของโรงงานที่เตรียมไว้

เพื่อก่อสร้างระบบผลิตก๊าซชีวภาพ

ระบบ Acidification 1 และ 2 เดิมของโรงงาน

 ระบบบำบัดน้ำเสียเดิม ซึ่งเป็นระบบ UASB

 พื้นที่บ่อบำบัดน้ำเสียเดิมของโรงงาน

 บ่อบำบัดน้ำเสียเดิมของโรงงาน